Monday, May 28, 2012

อาชีพไหนที่เหมาะกับเรา?


สวัสดีเด็กๆ ม.3 ทุกคน..

เริ่มต้นปีที่ 3 ของการเป็นนักเรียน ศ.น.แล้ว คุณพ่อคุณแม่ของพวกเราก็เช่นกัน นี่เป็นปีที่ 3 ของการเป็นเครือข่ายผู้ปกครอง ยินดีที่ลูกๆ ได้ผ่านช่วงวัยเด็ก
และกำลังที่จะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น หลายคนเริ่มทำบัตรประชาชน (อายุ 15 แล้วสินะ)  ช่วงปีนี้เป็นช่วงที่การเรียนของเด็กๆ มีสิ่งที่ต้องคิดแล้วว่า ถ้าจบ ม.3 แล้วจะเรียนต่อสายวิชาไหนดี บางคนอาจเลือกไปสอบต่อ ม.4 ร.ร.ที่มีชื่อเสียงทั้ง เตรียมอุดม หรือ มหิดล แต่ส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะเป็นรุ่นพี่ที่ ศ.น.ต่อไป (เพราะรักโรงเรียนนี้แล้วสินะ ไม่อยากย้ายไปเรียนที่อื่น)
ไม่ว่าจะเลือกทางเดินไหนก็ตาม สิ่งที่สำคัญก็คือ เราจะเรียนสายไหน อาจจะต้องปรึกษาคุณพ่อ คุณแม่ หรือครูที่ปรึกษา ครูแนะแนว หรือลองถามไถ่จากเพื่อนๆของเราดูว่า จะเรียนสายไหนดี ...หรือถ้ายังคิดไม่ออก หรือไม่รู้จะปรึกษาใคร...ก็ลองอ่านดูต่อไปนะ จะได้รู้ว่าเราจะเรียนอะไรดี

ถ้าเพื่อนถามเราว่าจะเรียนสายไหน  แล้วเราก็ตอบไม่ได้ หรือยังทำหน้างงๆ อยู่  (ประหนึ่งตอนวินาทีที่นางงามจักรวาลได้มงกุฏอย่างไม่คาดฝัน) หรือบางทีถึงขั้นสับสนชีิวิต...ความจริงเหตุการณ์เรื่องนี้ธรรมดามากๆ

เป็นคำถามหนึ่ง ที่ถามง๊าย ง่าย...
...แต่ตอบย๊าก ยาก ถึงยากส์ส์ที่สุด

ทำไมเด็กส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตัวเองอยากเรียนสายไหน หรือแม้แต่คนที่เลือกเรียนสายวิทย์แล้ว...บางทียังไม่รู้ตัวเองเลยว่าทำไมถึงเลือกเรียนสายวิทย์...จิงงง

บางคนเลือกสายวิทย์เพราะว่าเกรดดีเยี่ยม ...ก็หนูเรียนเก่งได้เกรด 4 ก็ต้องเรียนสายวิทย์สิค่ะ...จะไปเรียนสายศิลป์ทำไมล่ะ 
ส่วนนักเรียนคนไหนที่เกรดน้อย ก้อต้องทำใจไว้ว่าตัวเองต้องไปเรียนสายศิลป์ คงจะกระโดดไปเรียนสายวิทย์ไม่ได้แน่

"แต่...เอ๊ะแล้วถ้าเรียนได้เกรด 4 แต่อยากจะไปเรียนสายศิลป์ล่ะ ได้รึป่าวน่ะ"

นั่นเป็นสิ่งที่คุณพ่อ คุณแม่ส่วนใหญ่ รวมถึงลูกๆ กำลังขบคิดอย่างหนัก เพื่อให้ได้เรียนต่อในชั้น ม.4 ตามที่ต้องการ

ขอให้เด็กๆลองคิดใหม่ว่า...

ก่อนอื่น ถามตัวเองว่า ... เราชอบอะไร? 

เด็กๆ อาจจะตอบทันทีว่า... อ๋อไม่ยากเลย หนูไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์ เพราะฉะนั้นก็ต้องชอบอะไรก็ได้ที่ไม่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ น่าจะเป็นศิลปะมากกว่านะค่ะ...ใช่แล้วหนูชอบศิลปะ  

นี่เป็นคำตอบที่ดีแล้วหรือยัง????

อย่าเพิ่งรีบร้อนตอบคำถามนี้ เพราะว่าการตัดสินใจว่าจะเรียนสายไหนนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งในชีวิต
คนที่เรียนสายหนึ่ง แต่เมื่อถึงเวลาเรียนจบ เพิ่งรู้ว่าตัวเองไม่ได้ชอบสิ่งที่เรียนมา กลับไปเลือกอาชีพอีกแบบหนึ่งซึ่งแตกต่างไปโดยสิ้นเชิงในสิ่งที่ได้เรียนรู้มา

ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เลือกเรียนในสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเรา และควรทำอย่างรอบคอบ เพราะเมื่อเราเลือกเรียนในสิ่งที่เราชอบตั้งแต่ต้นแล้ว เราจะได้เรียนต่อในสายอาชีพที่เราชอบด้วย และได้ทำงานที่ตัวเองรัก ทำให้เรามีความสุขในชีวิตการทำงานด้วย

ดังนั้นก่อนที่จะรู้ว่าเราจะเลือกเรียนอะไร  เด็กๆ จะต้องรู้จักตัวเองก่อน รู้้ข้อดี ข้อเสียของตัวเอง




Sunday, May 6, 2012

เริ่มต้นดีมีชัย ด้วยนิสัยแห่งความสำเร็จ

นิสัยแห่งความสำเร็จ

สรุปจากหนังสือของเฮนรี ทอย 


ในอดีตคนมีความรู้มาก เราเรียกว่าคนฉลาด แ่ต่ปัจจุบันรู้มากอย่างเดียวไม่พอ  คนมีไอคิวสูงไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จในอนาคตได้  การใช้ชีิวิตอย่างฉลาดจำเป็นต้องมี 

"ทักษะในการคิด"

ทักษะอะไรที่นักเรียนจะสามารถนำไปใช้ในอนาคตอีก 10-20 ปีต่อจากนี้ เพื่อให้รู้จักคิดมากขึ้น ไตร่ตรองมากขึ้นและสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาได้

โลกเราผ่านยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ปฏวัติข่าวสาร ปฏิวัติคอมพิวเตอร์และปฏิวัติระับบการสื่อสารทางไกล ทำให้วิธีคิด วิธีสื่อสารและการใช้ชิวิตของเราเปลี่ยนไป แต่การศึกษาและแนวทางที่ได้รับการสั่งสอนมาส่วนใหญ่แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่เข้ากับ "ความต้องการของโลกแห่งความเป็นจริง" 
การเรียนรู้ในยุคโบราณให้ความสำคัญน้อยกับ สมอง แต่ในช่วงทศวรรษที่ 19 ไ้ด้รับการขนานนามให้เป็น ทศวรรษแห่งสมอง มีนวัตกรรมด้านเครื่องมือและวิธีการวินิจฉัยสมองและการทำงานของสมอง 

ปัจจุบันนี้เราให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมองตั้งแต่ก่อนคลอดและหลังคลอด ว่ามีส่วนสำคัญในการเรียนรู้  โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรกของชีวิต ซึ่งวิถีประสาทจะเติบโตอย่างรวดเร็ว เด็กที่มีโอกาสเรียนรู้มากกว่าก็จะมีสมองที่การเชื่อมโยงของใยประสาทหนาแน่นกว่าเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ 

ยุคสมัยเปลี่ยนไป ความรู้ก็เปลี่ยนแปลง ไม่มีคำว่าเร็วเกินไป การเรียนรู้ปรัชญาสามารถเพิ่มพูนทักษะการคิดที่สำคัญๆ เด็กประถมก็สามารถคิดเชิงปรัชญาได้แล้ว และ  ไม่มีคำว่าสายเกินไป คนแก่ก็สามารถยกระดับความสามารถในการเรียนรู้ได้ด้วย มีการค้นพบว่าสมองของผู้สูงอายุยังคงมีการแบ่งตัวได้อยู่ สามารถให้กำเนิดเซลล์และสร้างเซลล์ประสาทใหม่ตลอดชีวิต

กุญแจที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในยุคใหม่นี้ คือ ความสามารถในการคิดอย่างมีัทักษะ เราต้องเปลี่ยนแปลงวิธีคิดจากการสอนให้รู้วิธีหาคำตอบไปสู่การสอนให้รู้วิธีการปฏิบัติตนและคิดอย่างไรเมื่อไม่มีคำนอบให้เห็น ด้วยการสร้างนิสัยทางความคิด 7 ประการ ที่เรียกว่าเป็นนิสัยคิดดี หรือ SUCCESS ดังนี้

  • S ความยืดหยุ่นในการคิด
  • U ความเข้าใจโลกรอบตัว
  • C คิดดีคิดชอบต่อตัวเองและผู้อื่น
  • C กล้าคิดและกล้าที่จะิคิดต่าง
  • E ความถูกต้องแม่นยำในการสื่อความและกระบวนการคิด
  • S มีทักษะในการจัดการตัวเอง
  • S มีทักษะในการใช้  "ความไร้สาระ" โดยใช้อารมณ์ขันใการคิดและสื่อความ

Friday, September 2, 2011

ยินดีต้อนรับผู้ปกครองชั้น ม.3 ทุกท่าน

คณะกรรมการเครือข่ายฯชั้น ม.3 ยินดีต้อนรับ